วันมาฆบูชา

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

TEMPLE

วัดท้าวราษฎร์ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๒๘๐

พุทธศาสนสุภาษิต

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข

หลักธรรมสำหรับนักบริหาร

| |

หลักธรรมของนักบริหาร
หลักธรรม หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล นับถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 2540 กว่าปีแล้ว แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็น เครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าว เป็นความจริงที่ สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า “สัจธรรม” ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้จริงอยู่ที่เราจะนำ หลักธรรมข้อใดมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด สำหรับนักบริหารก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือ และปฏิบัติอย่างมากมาย ซึ่งได้นำเสนอไว้บ้าง เรื่องที่สำคัญดังต่อไปนี้

พรหมวิหาร 4
เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา) ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี 4 ประการ คือ
1. เมตตา ความรักใคร่ ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
4. อุเบกขา วางตนเป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ มีทุกข์

อคติ 4
อคติ หมายความว่า การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม มี 4 ประการ
1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่
2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะโกรธ
3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
อคติ 4 นี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่ ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม

สังคหวัตถุ 4
เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกันเห็นเหตุให้ตนเอง และหมู่คณะก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
1.ทาน ให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้
2.ปิยวาจา เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
3.อัตถจริยา ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์
4.สมานนัตตตา วางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน

อิทธิบาท 4
เป็นหลักธรรมถือให้เกิดความสำเร็จ
1.ฉันทะ ความพึงพอใจในงาน
2.วิริยะ ความขยันมั่นเพียร
3.จิตตะ ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน
4.วิมังสา ไตร่ตรองหาเหตุผล

ทศพิธราชธรรม 10 ประการ
เป็นหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์จะพึงถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาลแด่นักบริหาร เช่น สรรพสามิตจังหวัด สรรพสามิตอำเภอ ก็น่าจะนำไปอนุโลมถือปฏิบัติได้ หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีอยู่ดังนี้
1. ทาน คือ การให้ปัน ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
2. ศีล ได้แก่การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3. บริจาค ได้แก่ การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อน
ของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข
4. อาชวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม
5. มัทวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ
6. ตบะ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ
7. อโกรธะ ได้แก่ ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ
8. อวิหิงสา ได้แก่ การไม่เบียดเบียนคนอื่น
9. ขันติ ได้แก่ ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น
10. อวิโรธนะได้แก่ การธำรงค์รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม
บารมี 6
เป็นหลักธรรมอันสำคัญที่จะนิยมมาซึ่งความรักใคร่นับถือ
นับว่าเป็นหลักธรรมที่เหมาะมาก สำหรับนักบริหารจะพึงยึดถือปฎิบัติ มีอยู่ 6 ประการ
1. ทาน การให้เป็นสิ่งที่ควรให้
2. ศีล การประพฤติในทางที่ชอบ
3. ขันติ ความอดทนอดกลั้น
4. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร
5. ฌาน การเพ่งพิจารณาให้เห็นของจริง
6. ปรัชญา ความมีปัญญารอบรู้
ขันติโสรัจจะ
เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม (ธรรมทำให้งาม)
1. ขันติ คือ ความอดทน มีลักษณะ 3 ประการ
1.1 อดใจทนได้ต่อกำลังแห่งความโกรธแค้นไม่แสดงอาการ กาย วาจา
ที่ไม่น่ารักออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่ผู้อื่น
1.2 อดใจทนได้ต่อความลำบากตรากตรำหรือความเหน็ดเหนื่อย
2. โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง

ธรรมโลกบาล
เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองโลก หรือมวลมนุษย์ให้อยู่ความร่มเย็นเป็นสุข มี 2 ประการคือ
1. หิริ ความละอายในตนเอง
2. โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อทุกข์ และความเสื่อมแล้วไม่กระทำความชั่ว

อธิฐานธรรม 4
เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิตย์ เพื่อเป็นเครื่องนิยมนำจิตใจให้เกิดความรอบรู้ความจริง
รู้จักเสียสละ และบังเกิดความสงบ มี 4 ประการ
1. ปัญญา ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ รู้ในวิชา
2. สัจจะ ความจริง คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริงไม่ทำอะไรจับจด
3. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือ สละความเกียจคร้าน หรือความหวาดกลัว
ต่อความยุ่งยาก ลำบาก
4. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ คือ ยับยั้งใจมิให้ปั่นป่วนต่อความพอใจ
รักใคร่ และความขัดเคืองเป็นต้น

คหบดีธรรม 4
เป็นหลักธรรมของผู้ครองเรือนพึงยึดถือปฏิบัติ มี 4 ประการ คือ
1. ความหมั่น
2. ความโอบอ้อมอารี
3. ความไม่ตื่นเต้นมัวเมาในสมบัติ
4. ความไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อเกิดภัยวิบัติ

ราชสังคหวัตถุ 4
เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องช่วยในการวางนโยบายบริหารบ้านเมืองให้ดำเนินไปด้วยดี มี 4 ประการ คือ
1. ลัสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดปรีชาในการพิจารณาถึงผลิตผลอันเกิดขึ้นในแผ่นดิน แล้วพิจารณาผ่อนผันจัดเก็บเอาแต่บางส่วนแห่งสิ่งนั้น
2. ปุริสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดในการดูคนสามารถเลือกแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในความถูกต้องและเหมาะสม
3. สัมมาปาลัง การบริหารงานให้ต้องใจประชาชน
4. วาจาเปยยัง ความเป็นบุคคลมีวาจาไพเราะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวตามเหตุการณ์ตามฐานะและตามความเป็นธรรม

สติสัมปชัญญะ
เป็นหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้ประพฤติเป็นอันมาก
1.สติ คือ ความระลึกได้ก่อนทำ ก่อนบูชา ก่อนคัด คนมีสติจะไม่เลินเล่อ เผลอตน
2.สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวในเวลากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด

อกุศลมูล 3
อกุศลมูล คือ รากเหง้าของความชั่ว มี 3 ประการคือ
1. โลภะ ความอยากได้
2. โทสะ ความคิดประทุษร้ายเขา
3. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง

นิวรณ์ 5
นิวรณ์ แปลว่า ธรรมอันกลั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดี มี 5 ประการ
1. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ มีพอใจในรูป เป็นต้น
2. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
3. ถีนมิทธะ ความที่จิตใจหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
4. อุธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจได้

ผู้กำจัดหรือบรรเทานิวรณ์ได้ ย่อมได้นิสงส์ 5 ประการคือ
1. ไม่ข้องติดอยู่ในกายตนหรือผู้อื่นจนเกินไป
2. มีจิตประกอบด้วยเมตตา
3. มีจิตอาจหาญในการประพฤติความดี
4. มีความพินิจและความอดทน
5. ตัดสินใจในทางดีได้แน่นอนและถูกต้อง
เวสารัชชกรณะ 5
เวสารัชชกรณะ แปลว่า ธรรมที่ยังความกล้าหาญให้เกิดขึ้นมี 5 ประการ คือ
1. ศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
2. ศีล ประพฤติการวาจาเรียบร้อย
3. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก
4. วิริยารัมภะ ตั้งใจทำความพากเพียร
5. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้

อริยทรัพย์ 7
1. ศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
2. ศีล ประพฤติการวาจาเรียบร้อย
3. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
4. โอตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต
5. พาหุสัจจะ ความเป็นคนได้ยินได้ฟังมามาก
6. จาคะ การให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้
7. ปัญญา ความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นไท

สัปปุริสธรรม 7
เป็นหลักธรรมอันเป็นของคนดี (ผู้ประพฤติชอบ) มี 7 ประการ
1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้ว่าเป็นเหตุ
2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม
6. ปุริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักสังคม
7. บุคคลโรปรัชญญุตา ความเป็นผู้รู้จักคบคน

คุณธรรมของผู้บริหาร 6
ผู้บริหาร นอกจากจะมีคุณวุฒิในทางวิชาการต่าง ๆ แล้วยังจำเป็นต้องมีคุณธรรมอีก 6 ประการ
1. ขมา มีความอดทนเก่ง
2. ชาตริยะ ระวังระไว
3. อุฎฐานะ หมั่นขยัน
4. สังวิภาคะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
5. ทยา เอ็นดู กรุณา
6. อิกขนา หมั่นเอาใจใส่ตรวจตราหรือติดตาม

ยุติธรรม 5
นักบริหารหรือผู้นำมักจะประสบปัญหาหรือร้องเรียนขอความเป็นธรรมอยู่เป็นประจำ
หลักตัดสินความเพื่อให้เกิดความ “ยุติธรรม” มี 5 ประการ คือ
1. สัจจวา แนะนำด้วยความจริงใจ
2. บัณฑิตะ ฉลาดและแนะนำความจริงและความเสื่อม
3. อสาหะเสนะ ตัดสินด้วยปัญญาไม่ตัดสินด้วยอารมณ์ผลุนผลัน
4. เมธาวี นึกถึงธรรม (ยุติธรรม) เป็นใหญ่ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง
5. ธัมมัฎฐะ ไม่ริษยาอาฆาต ไม่ต่อเวร

ธรรมเครื่องให้ก้าวหน้า 7
นักบริหารในตำแหน่งต่าง ๆ ย่อมหวังความเจริญก้าวหน้าได้รับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นพระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเครื่องเจริญยศ (ความก้าวหน้า) ไว้ 7 ประการ คือ
1. อุฎฐานะ หมั่นขยัน
2. สติ มีความเฉลียว
3. สุจิกัมมะ การงานสะอาด
4. สัญญตะ ระวังดี
5. นิสัมมการี ใคร่ครวญพิจารณาแล้วจึงธรรม
6. ธัมมชีวี เลี้ยงชีพโดยธรรม
7. อัปปมัตตะ ไม่ประมาท

ไตรสิกขา
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความตั้งใจดีและมีมือสะอาด นักบริหารต้องประกอบตนไว้ใน
ไตรสิกขาข้อที่ต้องสำเหนียก 3 ประการ คือ
1. ศีล
2. สมาธิ
3. ปัญญา
ทั้งนี้เพราะ ศีล เป็นเครื่องสนับสนุนให้กาย (มือ) สะอาด
สมาธิ เป็นเครื่องสนับสนุนให้ใจสงบ
ปัญญา เป็นเครื่องทำให้ใจสว่าง รู้ถูก รู้ผิด

พระพุทธโอวาท 3
นักบริหารที่ทำงานได้ผลดี เนื่องจากได้ ”ตั้งใจดี” และ “มือสะอาด” พระพุทธองค์ได้วางแนวไว้ 3 ประการ ดังนี้
1. เว้นจากทุจริต การประพฤติชั่ว ทางกาย วาจา ใจ
2. ประกอบสุจริต ประพฤติชอบ ทางกาย วาจา ใจ
3. ทำใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

การนำหลักธรรมที่ประเสริฐมาปฎิบัติ ย่อมจักนำความเจริญ ตลอดจนความสุขกาย
สบายใจ ให้บังเกิดแก่ผู้ประพฤติทั้งสิ้น สมดังพุทธสุภาษิตที่ว่า “ ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง” ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น