วันมาฆบูชา

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

TEMPLE

วัดท้าวราษฎร์ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๒๘๐

พุทธศาสนสุภาษิต

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข

หลักธรรมหรือหลักทำ 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท

| | 0 ความคิดเห็น


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

หลักปฏิบัติ 10 ประการ... ตามรอยพระยุคลบาท
นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติตราบจนปี 2549 นี้ครบ 60 ปีแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม คือ ธรรมะ 10 ประการ สำหรับพระมหากษัตริย์เสมอมา พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่ทรงปฏิบัติและพระราชจริยวัตรมากมายที่ทรงประกอบนั้น ยังประโยชน์มหาศาลและเป็นที่ตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นว่าทรงอุทิศพระองค์เพื่อประเทศชาติและพสกนิกร พระราชธรรมทั้ง 10 ประการ ได้แก่
1 ทาน การให้โดยไม่หวังผลประโยชน์
2 ศีล การสำรวมในศีล
3 ปริจาคะ การบริจาค
4 อาชชวะ ความซื่อตรง
5 มัททวะ ความอ่อนโยน
6 ตบะ ความเพียร
7 อโกธะ ความไม่โกรธ
8 อวิหิงสา ความกรุณา
9 ขันติ ความอดทน
10 อวิโรธนะ ความยึดมั่นในประเพณี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติพระองค์ที่ดีงามตามทศพิธราชธรรม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. ได้ประมวลหลักที่ทรงปฏิบัติเพื่อให้ข้าราชการในฐานะผู้ที่รับงานของราชา คนทุกสายงาน ทุกอาชีพ และทุกคนได้ปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท
การเป็นข้าราชการที่ดี และคนดีนั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประมวลไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท 10 ประการ ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นในเรื่อง "ความรู้" หรือความเป็นผู้รู้จริง ก่อนที่จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนในทุกเรื่อง ทรงศึกษาหาความรู้เป็นอันดับแรก โดยจะทรงค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ศึกษาอย่างละเอียดในแต่ละเรื่อง เมื่อพร้อมแล้วจึงลงมือทำ ทุกคนจึงควรเป็นผู้รู้จริงในการทำงานเพื่อให้ผลงานเป็นที่ยอมรับ และบังเกิดผลดีต่อทุกฝ่าย
ข้อที่ 2 มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
ตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่ทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือเรื่องความถูกต้องยิ่งกว่าสิ่งใด นอกจากนั้นยังทรงทนเผชิญปัญหานานาประการโดยรับสั่งว่าตามปกติโครงสร้างทั่ว ๆ ไปของสังคมจะเป็นรูปพีระมิด มีพระเจ้าแผ่นดินเปรียบเหมือนอยู่บนยอดพีระมิด แต่โครงสร้างของสังคมไทยเป็นพีระมิดหัวกลับ คือพระเจ้าแผ่นดินแทนที่จะอยู่บนยอดกลับต้องมารองรับทุกอย่างที่ก้นกรวยแทน ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า "เพราะฉะนั้น เรื่องความอดทนนั้น ขอให้มองพระเจ้าอยู่หัวไว้แล้วพยายามทำตามให้ได้"
ข้อที่ 3 ความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย และประหยัด
พระบรมฉายาลักษณ์ที่ประชาชนชาวไทยพบเห็นจนชินตาก็คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์สูทแบบเรียบง่าย สะพายกล้องที่พระศอ ในพระหัตถ์เต็มไปด้วยเอกสาร น้อมพระวรกายไปหาประชาชนเพื่อทรงสอบถามทุกข์สุขและปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและมักจะทรงประทับบนพื้นเดียวกันกับประชาชนเสมอ ข้าราชการจึงสมควรปฏิบัติตนในข้อนี้ให้ได้
ข้อที่ 4 มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยไม่ทรงคำนึงถึงพระวรกายเลยแม้แต่น้อย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลเล่าไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า "เคยเข้าไปขอพระราชทานพร บอกวันนี้วันเกิดพระพุทธเจ้าค่ะ ขอพระราชทานพรพระราชทานว่าอย่างไร "ขอให้มีร่างกายที่แข็งแรงเพื่อสามารถทำประโยชน์ให้กับคนอื่นเขาได้ ขอให้มีความสุขจากการทำงาน และขอให้ได้รับความสุขจากผลสำเร็จของงานนั้น" เห็นได้ว่า ทุกสิ่งในพระราชดำริและที่ทรงปฏิบัติเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมทั้งสิ้น
ข้อที่ 5 รับฟังความเห็นของผู้อื่น และเคารพความคิดที่แตกต่าง
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเตือนทุกฝ่ายให้ "นั่งปรึกษาหารือกัน ฟังเขาแสดงเหตุแสดงผลออกมา แล้วเราแสดงเหตุแสดงผลออกไป แล้วดูซิเหตุผลอันไหนจะยอมรับได้ถูกต้องมากกว่า และเมื่อตกลงกันแล้วก็เลิกเถึยงกันต่อ ลงมือปฏิบัติเลย" โดยเฉพาะ เมื่อจะทำอะไรให้นึกถึง "บ้าน" ซึ่งก็คือ "บ้านเมือง" หรือแผ่นดินไทย" ให้มากที่สุด
ข้อที่ 6 มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นในเรื่องที่ทรงปฏิบัติมาก ทรงงานทุกวันไม่มีวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่มีกลางวัน กลางคืน และทรงเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านดนตรี ด้านกีฬา ด้านเกษตร และอื่น ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะข้าราชการจึงต้องมีจิตสำนึกในการบริการ มีความขยัน และตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อประชาชน
ข้อที่ 7 มีความสุจริต และความกตัญญู
ทรงแสดงให้ประจักษ์ในเรื่องของความกตัญญูต่อพระราชมารดา ต่อแผ่นดิน และต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะส่วนรวม ทรงเตือนให้ยึดสิ่งนี้ไว้เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็น มีความสำคัญ และมีคุณค่ายิ่ง
ข้อที่ 8 พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
พึ่งตนเอง หรือเศรษฐกิจพอเพียง คือ การวางเส้นทางชีวิตของตนเองให้เรียบง่าย ธรรมดา และเดินสายกลาง เป็นทฤษฎีสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า "เศรษฐกิจพอเพียงนี้ พระเจ้าอยู่หัวบอกว่าคำที่สำคัญที่สุดในเรื่องราวที่อธิบายมานี้คือคำว่า "พอ" ทุกคนต้องกำหนดเส้นความพอให้กับตนเองให้ได้ และยึดเส้นนั้นไว้เป็นมาตรฐานของตนเอง"
ข้อที่ 9 รักประชาชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักประชาชน และทำงานเพื่อประชาชน ครั้งหนึ่งมีรับสั่งกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลว่า ทรง "ทำราชการ" ดังนั้น คนที่ "รับราชการ" ซึ่งถือว่า รับงานของราชามาทำต่อ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือต้องรักประชาชน และทำงานเพื่อประชาชน เฉกเช่นเดียวกับพระองค์
ข้อที่ 10 การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า "รู้ไหมบ้านเมืองอยู่รอดมาได้ทุกวันนี้เพราะอะไร เพราะคนไทยเรายัง "ให้" กันอยู่" ทั้งนี้ เพราะคนในครอบครัวยังรักและดูแลกัน คนในชุมชนยังเอื้อเฟื้อกัน ข้าราชการยังให้บริการแก่ประชาชนและทุกคนยังรวมตัวช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งยากจะหาได้ที่ไหนในโลกนี้
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่ดีงามในทุกด้าน สมควรที่จะดำเนินรอยตามพระยุคลบาทด้วยหลักปฏิบัติ 10 ประการดังกล่าวข้างต้น และหากประชาชนทุกสาขาอาชีพ และคนไทยทุกคนได้ทบทวน ยึดถือ และน้อยนำไปปฏิบัติดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติแล้ว จะสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยดี สังคมจะสงบสุข และประเทศชาติเจริญก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน
***ข้อมูล...จากหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

ใบงานที่ 7 การแต่งเวบหรือบล๊อกให้สวยงามและน่าสนใจ

| | 0 ความคิดเห็น

1.การใส่ปฏิทินในเวบบอร์ด- ค้นหาโค้ดปฏิทินจากเวบgoogle พิมพ์คำว่า code ปฏิทิน- เลือกเวบที่เกี่ยวข้องเลือก รูปแบบปฏิทินที่ชอบแล้ว copy code- เปิดบล็อกของตนเองเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน
2.การใส่นาฬิกา- ค้นหาโค้ดนาฬิกาจากเวบgoogle พิมพ์คำว่า code นาฬิกา- เลือกเวบที่เกี่ยวข้องเลือก รูปแบบนาฬิกาที่ชอบแล้ว copy code- เปิดบล็อกของตนเองเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


3.การทำสไลด์- เข้าwww.slide.com เพื่อสมัครสมาชิก- เข้าสู่ระบบ โดยการใส่ username และ password ที่ได้สมัครไปข้างต้น- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วคลิ๊กสร้างการแสดงภาพสไลด์ จากนั้นไปที browse เพื่อเพิ่มรูปภาพที่ต้องการ ซึ่งภาพนี้อาจอยู่ในเครื่องคอมพวิเตอร์ของท่านหรือจากเวบที่ท่านทำการฝากรูปไว้ ทำการ upload รูป- ปรับตกแต่งให้สวยงามตามความต้องการโดยเลือกรูปแบบ หลากหลาย ขนาด เอ๊ฟเฟกต่างๆ ตามใจชอบ เมื่อเลือกได้ตามที่ต้องการ ให้บันทึก เพื่อรับรหัส code จากนั้น copy code ที่ได้ไปวางไว้ในส่วนของบทความใหม่ หรือใน Gadget ก็ได้. เสร็จแล้ว คลิ๊ก บันทึก เพื่อยืนยันเกร็ดเล็กๆน้อยๆ....หากท่านเข้าเวบwww.slide.comแล้วพบว่าเป็นภาษาอังกฤษ อย่างเพิ่งตกใจ ให้เลื่อนเม้าส์ไปด้านล่างจะมีเมนูให้ท่านเปลี่ยนภาษาได้ .....
4. การปรับแต่งสีใน blog- เปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น คลิ๊ก แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยันเกร็ดเล็กๆน้อยๆ หากท่านเปลี่ยน template ของบล็อก การปรับแต่งสีเป็นสิ่งสำคัญ- การปรับแต่งสีใน blog มีขั้นตอนดังนี้ เปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น คลิ๊ก แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยัน- การใส่เพลง มีขั้นตอนดังนี้ ให้เข้าไปใน http://happyvampires.gmember.com/home.php?1402 จากนั้น คลิ๊กเลือกเพลงที่ต้องการ copy embed เพื่อนำ code ที่ได้ไปวางไว้ในบล็อกตัวเอง โดยการใส่เพลง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ใบงานที่ 6 ประโยชน์ของ Google.co.th

| | 0 ความคิดเห็น

www.google.co.th ใช้ประโยชน์ ดังนี้1. Google ช่วยแปลเว็บไซต์ที่เราค้นหาได้ที่เป็นภาษาอื่น มิใช่ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ให้เป็นเว็บภาษาอังกฤษได้ ด้วยการคลิกที่ Language Tools (เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้าแรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปลภาษา หรือให้แปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยใส่ชื่อ URL ที่ต้องการให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website 2. ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ผ่านมาเท่านั้น 3.สามารถค้นหาไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในรูป doc, pdf, ps ฯลฯ ได้ด้วยการกำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง4.ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน โดยให้ใส่เครื่องหมาย Tilde (~) หน้าคำที่ต้องการค้นหา โดยไม่ต้องเว้นวรรค Google จะค้นหาคำ Synonym ของคำที่เราต้องการค้นหาให้ด้วย5.ค้นหาเฉพาะกลุ่ม โดยใช้ Special Google Searches เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการค้นหา6.ใช้ Google ช่วยในการคำนวณ 7.ชอปปิ้งด้วย Google : Froogle 8.ตรวจสอบราคาหุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกา9.สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐอ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3872ac8a53e03acf2. การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไร1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือAdobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้12.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์first name (or first initial), last name, city (state is optional)first name (or first initial), last name, statefirst name (or first initial), last name, area codefirst name (or first initial), last name, zip codephone number, including area codelast name, city, statelast name, zip codeแล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com )17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทยอ้างอิง http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=91026.03. web ที่ใช้ค้นหาข้อมูลนอกจาก googleตัวอย่างเว็บไซต์เครื่องค้นหาได้แก่ http://www.yahoo.com, http://www.infoseek.com, http://altavista.com, http://thaiseek.comอ้างอิง http://www.sa.ac.th/elearning/index33.htm4. การกำหนดหมวดหมู่ในการค้นหา โดยใช้ googleค้นหารูปได้แสนง่ายความสามารถที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบกันนักหนา และสร้างชื่อให้กับ Google ก็คือการค้นหารูปภาพด้วย Google Search ครับ วิธีการใช้ก็คือ 1. คลิกเมนูลิ้งค รูปภาพ จากนั้นก็พิมพ์ชื่อภาพที่ต้องการค้นหา และคลิกปุ่มค้นหารูปภาพ- Google ค้นหาไฟล์ได้ Google สามารถค้นหาไฟล์เอกสารที่สำคัญๆ ได้ดังนี้ Adobe Portable Document Format ( ไฟล์นามสกุล . pdf) Adobe PostScript ( ไฟล์นามสกุล . ps) Lotus 1-2-3 ( ไฟล์นามสกุล . wk1, .wk2, .wk3, .wk4, .wk5, .wki, .wks และ . wku) Lotus WordPro ( ไฟล์นามสกุล . lwp) MacWrite ( ไฟล์นามสกุล . mw) Microsoft Excel ( ไฟล์นามสกุล . xls) Microsoft PowerPoint ( ไฟล์นามสกุล . ppt) Microsoft Word ( ไฟล์นามสกุล . doc) Microsoft Works ( ไฟล์นามสกุล . wks, .wps, .wdb) Microsoft Write ( ไฟล์นามสกุล . wri) Rich Text Format ( ไฟล์นามสกุล . rtf) Shockwave Flash ( ไฟล์นามสกุล . swf) Text ( ไฟล์นามสกุล . ans, .txt)- เว็บไซต์ที่ถูกลบไปแล้ว Google ก็ยังค้นหาได้อยู่ เพราะก่อนหน้านี้เว็บไซต์ที่ถูกลบเหล่านั้นได้ถูกบรรจุหรือจัดเก็บไว้ในเครื่องที่เรียกว่า Cache ของ Google ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ เช่น บางลิงค์ที่ผู้ใช้งานคลิกเข้าชมไม่ได้อันเนื่องมาจากถูกลบออกไปแล้ว ผู้งานก็เพียงแต่คลิกที่เมนู หน้าที่ถูกเก็บไว้ ครับ- ค้นหาหน้าเว็บที่มีข้อมูลคล้ายกันได้ในบางครั้งเมื่อ Cache จะไม่สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาเว็บไซต์นั้นได้ แต่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน โดคลิกไปยังเมนู หน้าที่คล้ายกัน ครับ- Google สามารถค้นหาเว็บทั้งหมดที่เชื่อมมายังเว็บนั้นได้โดยพิมพ์ link: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น link:www.plawan.com เป็นการค้นหาลิงค์ที่เชื่อมมายังเว็บของปลาวาฬดอตคอมเป็นต้น- Google สามารถหาคำเฉพาะเจาะจงในเว็บไซต์นั้นๆ ได้ โดยพิมพ์ คำที่ค้นหา site: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น Google Earth site:www.kapook.com ซึ่งเป็นการหาหน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ Google Earth ในเว็บไซต์ของ Kapook นั่งเองครับ- ค้นหาแบบวัดดวงกันบ้าง จะวัดดวงค้นหาเว็บไซต์ด้วย Google กันสักครั้งคงไม่เป็นไร เพราะถ้าดวงดีผู้ใช้ก็จะได้ไม่เสียเวลามานั่นเลือกให้เมื่อตุ้มครับ โดยพิมพ์ Keyword สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการจากนั้นคลิกที่ปุ่ม ดีใจจัง ค้นหาแล้วเจอเลย- ค้นหาบทสรุปของหนังสือก่อนตัดสินใจซื้อ ก่อนการตัดสินใจที่จะซื้อหนังสือสักเล่ม ผู้ใช้น่าจะทราบก่อนว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง หรือมีโอกาสได้ดูสารบัญของหนั้งสือเล่มนั้นเสียก่อนครับ Google Search สามารถบอกผู้ใช้ได้เพียงใส่ชื่อหนังสือหลังคำว่า books about ชื่อหนังสือ เช่น books about Harry Potter อ้างอิง http://www.kapook.com/google/search/

ใบงานที่ 11 วิพากษ์อาจารย์ผู้สอน

| | 0 ความคิดเห็น






คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


อาจารย์เป็นคนอารมณ์ดี สนุกสนาน ไม่เครียด ตรงไปตรงมา ชัดเจน เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถมาก แต่สอนเร็ว พูดเร็ว แต่งกายดี บุคลิกภาพดี เป็นกันเองกับทุกๆ คน เวลาพูดคุยหรือปรึกษา ก็จะมีข้อเสนอแนะดีๆ มุมมองใหม่ๆ เยอะ ทำให้ต่อยอดความคิดได้ดี

หลักธรรมสำหรับนักบริหาร

| | 0 ความคิดเห็น

หลักธรรมของนักบริหาร
หลักธรรม หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล นับถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 2540 กว่าปีแล้ว แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็น เครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าว เป็นความจริงที่ สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า “สัจธรรม” ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้จริงอยู่ที่เราจะนำ หลักธรรมข้อใดมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด สำหรับนักบริหารก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือ และปฏิบัติอย่างมากมาย ซึ่งได้นำเสนอไว้บ้าง เรื่องที่สำคัญดังต่อไปนี้

พรหมวิหาร 4
เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา) ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี 4 ประการ คือ
1. เมตตา ความรักใคร่ ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
4. อุเบกขา วางตนเป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ มีทุกข์

อคติ 4
อคติ หมายความว่า การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม มี 4 ประการ
1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่
2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะโกรธ
3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
อคติ 4 นี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่ ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม

สังคหวัตถุ 4
เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกันเห็นเหตุให้ตนเอง และหมู่คณะก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
1.ทาน ให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้
2.ปิยวาจา เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
3.อัตถจริยา ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์
4.สมานนัตตตา วางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน

อิทธิบาท 4
เป็นหลักธรรมถือให้เกิดความสำเร็จ
1.ฉันทะ ความพึงพอใจในงาน
2.วิริยะ ความขยันมั่นเพียร
3.จิตตะ ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน
4.วิมังสา ไตร่ตรองหาเหตุผล

ทศพิธราชธรรม 10 ประการ
เป็นหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์จะพึงถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาลแด่นักบริหาร เช่น สรรพสามิตจังหวัด สรรพสามิตอำเภอ ก็น่าจะนำไปอนุโลมถือปฏิบัติได้ หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีอยู่ดังนี้
1. ทาน คือ การให้ปัน ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
2. ศีล ได้แก่การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3. บริจาค ได้แก่ การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อน
ของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข
4. อาชวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม
5. มัทวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ
6. ตบะ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ
7. อโกรธะ ได้แก่ ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ
8. อวิหิงสา ได้แก่ การไม่เบียดเบียนคนอื่น
9. ขันติ ได้แก่ ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น
10. อวิโรธนะได้แก่ การธำรงค์รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม
บารมี 6
เป็นหลักธรรมอันสำคัญที่จะนิยมมาซึ่งความรักใคร่นับถือ
นับว่าเป็นหลักธรรมที่เหมาะมาก สำหรับนักบริหารจะพึงยึดถือปฎิบัติ มีอยู่ 6 ประการ
1. ทาน การให้เป็นสิ่งที่ควรให้
2. ศีล การประพฤติในทางที่ชอบ
3. ขันติ ความอดทนอดกลั้น
4. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร
5. ฌาน การเพ่งพิจารณาให้เห็นของจริง
6. ปรัชญา ความมีปัญญารอบรู้
ขันติโสรัจจะ
เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม (ธรรมทำให้งาม)
1. ขันติ คือ ความอดทน มีลักษณะ 3 ประการ
1.1 อดใจทนได้ต่อกำลังแห่งความโกรธแค้นไม่แสดงอาการ กาย วาจา
ที่ไม่น่ารักออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่ผู้อื่น
1.2 อดใจทนได้ต่อความลำบากตรากตรำหรือความเหน็ดเหนื่อย
2. โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง

ธรรมโลกบาล
เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองโลก หรือมวลมนุษย์ให้อยู่ความร่มเย็นเป็นสุข มี 2 ประการคือ
1. หิริ ความละอายในตนเอง
2. โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อทุกข์ และความเสื่อมแล้วไม่กระทำความชั่ว

อธิฐานธรรม 4
เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิตย์ เพื่อเป็นเครื่องนิยมนำจิตใจให้เกิดความรอบรู้ความจริง
รู้จักเสียสละ และบังเกิดความสงบ มี 4 ประการ
1. ปัญญา ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ รู้ในวิชา
2. สัจจะ ความจริง คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริงไม่ทำอะไรจับจด
3. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือ สละความเกียจคร้าน หรือความหวาดกลัว
ต่อความยุ่งยาก ลำบาก
4. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ คือ ยับยั้งใจมิให้ปั่นป่วนต่อความพอใจ
รักใคร่ และความขัดเคืองเป็นต้น

คหบดีธรรม 4
เป็นหลักธรรมของผู้ครองเรือนพึงยึดถือปฏิบัติ มี 4 ประการ คือ
1. ความหมั่น
2. ความโอบอ้อมอารี
3. ความไม่ตื่นเต้นมัวเมาในสมบัติ
4. ความไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อเกิดภัยวิบัติ

ราชสังคหวัตถุ 4
เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องช่วยในการวางนโยบายบริหารบ้านเมืองให้ดำเนินไปด้วยดี มี 4 ประการ คือ
1. ลัสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดปรีชาในการพิจารณาถึงผลิตผลอันเกิดขึ้นในแผ่นดิน แล้วพิจารณาผ่อนผันจัดเก็บเอาแต่บางส่วนแห่งสิ่งนั้น
2. ปุริสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดในการดูคนสามารถเลือกแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในความถูกต้องและเหมาะสม
3. สัมมาปาลัง การบริหารงานให้ต้องใจประชาชน
4. วาจาเปยยัง ความเป็นบุคคลมีวาจาไพเราะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวตามเหตุการณ์ตามฐานะและตามความเป็นธรรม

สติสัมปชัญญะ
เป็นหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้ประพฤติเป็นอันมาก
1.สติ คือ ความระลึกได้ก่อนทำ ก่อนบูชา ก่อนคัด คนมีสติจะไม่เลินเล่อ เผลอตน
2.สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวในเวลากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด

อกุศลมูล 3
อกุศลมูล คือ รากเหง้าของความชั่ว มี 3 ประการคือ
1. โลภะ ความอยากได้
2. โทสะ ความคิดประทุษร้ายเขา
3. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง

นิวรณ์ 5
นิวรณ์ แปลว่า ธรรมอันกลั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดี มี 5 ประการ
1. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ มีพอใจในรูป เป็นต้น
2. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
3. ถีนมิทธะ ความที่จิตใจหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
4. อุธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจได้

ผู้กำจัดหรือบรรเทานิวรณ์ได้ ย่อมได้นิสงส์ 5 ประการคือ
1. ไม่ข้องติดอยู่ในกายตนหรือผู้อื่นจนเกินไป
2. มีจิตประกอบด้วยเมตตา
3. มีจิตอาจหาญในการประพฤติความดี
4. มีความพินิจและความอดทน
5. ตัดสินใจในทางดีได้แน่นอนและถูกต้อง
เวสารัชชกรณะ 5
เวสารัชชกรณะ แปลว่า ธรรมที่ยังความกล้าหาญให้เกิดขึ้นมี 5 ประการ คือ
1. ศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
2. ศีล ประพฤติการวาจาเรียบร้อย
3. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก
4. วิริยารัมภะ ตั้งใจทำความพากเพียร
5. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้

อริยทรัพย์ 7
1. ศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
2. ศีล ประพฤติการวาจาเรียบร้อย
3. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
4. โอตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต
5. พาหุสัจจะ ความเป็นคนได้ยินได้ฟังมามาก
6. จาคะ การให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้
7. ปัญญา ความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นไท

สัปปุริสธรรม 7
เป็นหลักธรรมอันเป็นของคนดี (ผู้ประพฤติชอบ) มี 7 ประการ
1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้ว่าเป็นเหตุ
2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม
6. ปุริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักสังคม
7. บุคคลโรปรัชญญุตา ความเป็นผู้รู้จักคบคน

คุณธรรมของผู้บริหาร 6
ผู้บริหาร นอกจากจะมีคุณวุฒิในทางวิชาการต่าง ๆ แล้วยังจำเป็นต้องมีคุณธรรมอีก 6 ประการ
1. ขมา มีความอดทนเก่ง
2. ชาตริยะ ระวังระไว
3. อุฎฐานะ หมั่นขยัน
4. สังวิภาคะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
5. ทยา เอ็นดู กรุณา
6. อิกขนา หมั่นเอาใจใส่ตรวจตราหรือติดตาม

ยุติธรรม 5
นักบริหารหรือผู้นำมักจะประสบปัญหาหรือร้องเรียนขอความเป็นธรรมอยู่เป็นประจำ
หลักตัดสินความเพื่อให้เกิดความ “ยุติธรรม” มี 5 ประการ คือ
1. สัจจวา แนะนำด้วยความจริงใจ
2. บัณฑิตะ ฉลาดและแนะนำความจริงและความเสื่อม
3. อสาหะเสนะ ตัดสินด้วยปัญญาไม่ตัดสินด้วยอารมณ์ผลุนผลัน
4. เมธาวี นึกถึงธรรม (ยุติธรรม) เป็นใหญ่ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง
5. ธัมมัฎฐะ ไม่ริษยาอาฆาต ไม่ต่อเวร

ธรรมเครื่องให้ก้าวหน้า 7
นักบริหารในตำแหน่งต่าง ๆ ย่อมหวังความเจริญก้าวหน้าได้รับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นพระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเครื่องเจริญยศ (ความก้าวหน้า) ไว้ 7 ประการ คือ
1. อุฎฐานะ หมั่นขยัน
2. สติ มีความเฉลียว
3. สุจิกัมมะ การงานสะอาด
4. สัญญตะ ระวังดี
5. นิสัมมการี ใคร่ครวญพิจารณาแล้วจึงธรรม
6. ธัมมชีวี เลี้ยงชีพโดยธรรม
7. อัปปมัตตะ ไม่ประมาท

ไตรสิกขา
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความตั้งใจดีและมีมือสะอาด นักบริหารต้องประกอบตนไว้ใน
ไตรสิกขาข้อที่ต้องสำเหนียก 3 ประการ คือ
1. ศีล
2. สมาธิ
3. ปัญญา
ทั้งนี้เพราะ ศีล เป็นเครื่องสนับสนุนให้กาย (มือ) สะอาด
สมาธิ เป็นเครื่องสนับสนุนให้ใจสงบ
ปัญญา เป็นเครื่องทำให้ใจสว่าง รู้ถูก รู้ผิด

พระพุทธโอวาท 3
นักบริหารที่ทำงานได้ผลดี เนื่องจากได้ ”ตั้งใจดี” และ “มือสะอาด” พระพุทธองค์ได้วางแนวไว้ 3 ประการ ดังนี้
1. เว้นจากทุจริต การประพฤติชั่ว ทางกาย วาจา ใจ
2. ประกอบสุจริต ประพฤติชอบ ทางกาย วาจา ใจ
3. ทำใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

การนำหลักธรรมที่ประเสริฐมาปฎิบัติ ย่อมจักนำความเจริญ ตลอดจนความสุขกาย
สบายใจ ให้บังเกิดแก่ผู้ประพฤติทั้งสิ้น สมดังพุทธสุภาษิตที่ว่า “ ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง” ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม

นรก มีจริงหรือไม่ นี่คือ คำตอบ

| | 0 ความคิดเห็น

นรก ที่ห่างไกลจากความสุข
นรก ทั้ง 8 ขุม มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่กรรมชั่วที่เคยทำนรก นรกแบ่งเป็นขุม ๆ ตามอำนาจของกรรมที่เหล่าสัตว์โลกได้กระทำไว้บันดาลให้เกิดขึ้น

ขุมที่ 1 สัญชีวมหานรก คือนรกที่ไม่มีวันตาย สัตว์นรกจะถูกนายนิรยบาลเอาดาบนรกฟาดฟันกายให้ ขาดเป็นท่อนๆ บางทีก็เอา มีด เอาขวานมาถาก เฉือนเนื้อทีละน้อยๆ จนสิ้นใจตาย ทันใดนั้นเอง ก็มีลมกรรม พัดโชย มาถูกต้องกาย ให้กลับฟื้นขึ้นมาเป็นสัตว์นรก เหมือนเดิมอีก นายนิรยบาลเห็นดังนั้น ก็ลงโทษให้ได้รับความเจ็บปวด จนกระทั่งถึงตายอีก รับกรรมอยู่อย่างนี้นานถึง ๕๐๐ ปี นรกทีเดียว
ขุมที่ 2 ชื่อกาฬสุตตนรก เป็นนรกด้ายดำ นายนิรยบาลจะเอาเส้นด้ายดำ มาตีเป็นเส้นตามร่างกายของสัตว์นรก ที่จับ ให้นอน บนแผ่นเหล็กแดงที่ร้อนระอุ แล้วเอาเลื่อยมา เลื่อย เอาขวานมาผ่า หรือเอามีดมาตัดตามเส้นที่ตีเอาไว้ แม้จะ ดิ้นทุรนทุรายอย่างไรก็ไม่หลุด ยิ่งดิ้นยิ่งรัดแน่นเข้าไปอีก สัตว์นรกจะถูกเลื่อยตัดร่างกายจนตาย แล้วกลับฟื้นขึ้นมา ใหม่ ทรมานอยู่อย่างนี้ จนกว่าสัตว์นรกจะหมดกรรม ซึ่งต้องใช้เวลานานถึงพันปีนรก
มหานรกขุมที่ 3 ชื่อสังฆาฏนรก หมายถึงนรกที่ ถูกภูเขาเหล็กบดขยี้ร่างกาย ให้ได้รับทุกขเวทนาอยู่ตลอดเวลา สัตว์นรกขุมนี้มีรูปร่างหน้าตาประหลาด บางตนมี หน้าเป็นวัว แต่ตัวเป็นมนุษย์ หรือหน้าเป็นมนุษย์ แต่ตัวเป็น ช้าง เป็นเสือ ก็จะถูกนายนิรยบาลเอาโซ่เหล็กร้อนระอุ มัดคอเอาไว้ฉุดกระชากลากมาลากไป แล้วเอาฆ้อนเหล็ก ทุบกระหน่ำลง บนศีรษะ ร่างกายก็ป่นปี้จนกระดูกแหลกละเอียด พอตายแล้วก็มีลมกรรมพัดมาให้ฟื้นคืนชีพอีก ต้องมาใช้กรรมนาน สองพันปีนรก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเมื่อเป็นมนุษย์ ไร้ความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ชอบทำการทารุณ เบียดเบียนผู้อื่น
นรกขุมที่ 4 คือโรรุวนรก ที่ได้ชื่ออย่างนี้ก็เพราะว่าเต็มไปด้วยเสียงร้องระงม ครวญครางอย่างน่าเวทนา ศีรษะ มือเท้าของสัตว์นรก จมลงไปในดอกบัวเหล็ก นอนคว่ำหน้าเปลวไฟก็เผาไหม้ดอกบัวเหล็กพร้อ
มกับสัตว์นรก จะตายก็ไม่ ตาย ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้นจนหมด ๔,๐๐๐ ปีนรก เพราะในอดีต ชอบนำสัตว์มาทรมาน หรือเคยเป็นตุลา การผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีความโดยขาดความยุติธรรม หรือเป็นเพราะไปลักขโมยสมบัติของพระศาสนา
ขุมที่ 5 คือมหาโรรุวนรก ก็คล้ายๆ กับนรกขุมที่ ๔ นั่นแหละ แต่มีเสียงร้องครวญครางมากกว่า ได้รับทุกข์ทรมานมากกว่า สัตว์ในขุมนี้ต้องเข้าไปยืนในดอกบัวเหล็กที่คมกริบ มิหนำซ้ำยังร้อนแรงด้วยไฟนรกอีกด้วย เผาไหม้สัตว์ตั้ง แต่เท้าจนถึงศีรษะ เปลวไฟเข้าไปในทวารทั้ง ๙ จะตายก็ไม่ตาย ได้รับทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้นนานถึง ๘,๐๐๐ ปีนรก เพราะกรรมในอดีตได้ตัดศีรษะสัตว์และมนุษย์เอาไว้มาก ทำโจรกรรมด้วยความอาฆาต พยาบาท ปล้นสมบัติในพระ ศาสนา ปล้นทรัพย์สินของผู้มีพระคุณ พ่อแม่ครูบาอาจารย์และผู้ทรงศีลทั้งหลาย
ขุมที่ 6 ตาปนรก สัตว์นรกจะได้รับความเร่าร้อน อย่างน่าเวทนา เพราะถูกหลาวเหล็กที่ร้อนโชติช่วงด้วยเปลวไฟ เสียบแทงสัตว์ทั้งหลายไว้ แล้วยังมีสุนัขนรกตัวใหญ่ เท่าช้างสารรุมทึ้งจนเหลือแต่กระดูก ชดใช้กรรมอยู่อย่างนี้ถึง ๑๖,๐๐๐ ปีนรก
ขุมที่ 7 คือมหาตาปนรก เป็นขุมที่สัตว์นรกได้รับความเร่าร้อนเหลือประมาณด้วยการถูกบังคับให้ขึ้นไปบนภูเขาเหล็กที่ร้อนลุกเป็นไฟ แล้วจะถูกลมกรดที่ร้อนแรงพัดกระหน่ำสัตว์ให้ตกลงมาข้างล่างซึ่งมีขวากหนามเหล็กที่ร้อนแดงด้วย ไฟนรก ปักเรียงรายอยู่ เสียบทะลุร่างกาย ดูแล้วน่าหวาดเสียว สยดสยอง ต้องทน ทรมานอย่างนี้ถึงครึ่งอันตรกัป ก็ คือการนับอายุจากที่มนุษย์อายุยืนเป็นอสงไขยถอยลงมาถึงอายุ ๑๐ ปี แล้วขึ้นไป ถึงอสงไขย เป็น ๑ อันตรกัป ฉะนั้นครึ่งอันตรกัป ก็ถือว่ายาวนานมาก

ขุมที่ 8 ขุมสุดท้าย คืออเวจีมหานรก เป็นนรกที่สัตว์ถูกทรมานโดยไม่มีการหยุดพักเลย อยู่ลึกที่สุดและเสวยวิบากกรรมยาว นานที่สุดถึง ๑ อันตรกัป กรรมที่ทำให้เกิด ในขุมนี้ เพราะทำอนันตริยกรรมเอาไว้ ตั้งแต่ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต และก็ทำลายสงฆ์ให้แตกกันนอกจากนี้ยังมีโลกันตนรก ซึ่งเป็นอีกภพหนึ่งที่พิเศษสำหรับผู้ที่ทำกรรมชั่วมากเป็นพิเศษ เช่นเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ จะ ไปอยู่สุดขอบปากจักรวาลโน่น ตรงนั้นจะมีความมืดมนอนธการ ไม่มีแสงเดือนแสงดาวให้เห็น มืดสนิท และเย็นยะเยือก โลกันตนรก ก็คือนรกที่อยู่สุดโลกสุดจักรวาล จะเห็นแสงสว่างทีก็ต่อเมื่อมีพระพุทธเจ้ามาเสด็จ อุบัติขึ้นในโลก แสงสว่างแห่งพุทธธรรมจะโชติช่วงไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ส่องสว่างไปถึงโลกันตนรก ถ้าร้อนที่สุด ไม่มีที่ไหนเกินอเวจีมหานรก แต่ถ้าเย็นที่สุดก็คือโลกันตนรกนี่แหละ แล้วสัตว์นรกในขุมนี้มีรูปร่างใหญ่โตมาก เล็บมือเล็บเท้ายาวเฟื้อย ต้องใช้เล็บมือเท้าเกาะอยู่ที่ขอบจักรวาล ห้อยโหนตัวไปมาเหมือนค้างคาวห้อยหัวอยู่ตามกิ่งไม้ ห้อยโหนไปก็บ่นเพ้อรำพึงรำพันกับตัวเองว่า "ทำไมเราถึงมาทนทุกข์ทรมานอยู่ที่นี่คนเดียวหนอ" เพราะมืดสนิทจนไม่เห็นสัตว์นรกที่อยู่ใกล้ๆ พอมือคว้าไปถูกเพื่อนซึ่งเป็นสัตว์นรกด้วยกัน ก็สำคัญว่าเป็นอาหาร ต่างคน ต่างกัดกินเลือดกินเนื้อกัน จนพลัดตกลงไปข้างล่างที่เป็นทะเลน้ำกรด ร่างกายจะถูกน้ำกรดกัดจน เปื่อยแหลกเหลวไปทันที พอสิ้นใจตายก็กลับมาเกิดเป็นสัตว์นรกอีก แล้วรีบตะเกียกตะกายปีนป่าย ขึ้นไปเกาะขอบจักรวาลตามเดิม ทนทรมานอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะครบชั่วหนึ่งพุทธันดร ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าทำกรรมบาปหยาบช้า มีความเห็นผิด อกตัญญูต่อบิดามารดา เป็นผู้มีดวงใจมืดบอดใครทำคุณด้วยก็ มองไม่เห็น แถมยังทำร้ายผู้ทรงศีล ด้วยอำนาจกรรมนี้ ทำให้มาอยู่ในสถานที่อันมืดมิดอย่างนี้

สวรรค์ ที่ที่ความสุข
มัชฌิมสงสารเป็นการท่องเที่ยวในภูมิกลาง มี 7 ภูมิ
1.มนุสสภูมิ คือ โลกมนุษย์ เหล่าสัตว์ที่ไปอุบัติเกิดขึ้นในโลกมนุษย์นี้ มีปรากฏให้เห็นได้ แต่จะมีรูปร่างเป็นอย่างไรนั้น ไม่ต้องบอกก็เห็นจะได้ กระมัง เพราะว่าท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงเคยเห็นมนุษย์มากมายจนนับไม่ถ้วนแล้ว ชีวิตมนุษย์นับว่าเป็นชีวิตที่ประเสริฐ เพราะว่าสามารถที่ประกอบกรรมอันสูงสุดได้ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม

2.จาตุมหาราชิกาภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่ 1 ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมมีความสุขสบายบริบูรณ์ไปด้วยกามคุณอารมณ์มากกว่ามนุษย์ เพราะเป็นเทวดาได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลแห่งตนที่ได้สร้างสมไว้ โดยมีเทวาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ 4 องค์ทรงเป็นผู้ปกครอง

3.ตาวติงสาภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่ 2 ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีตกว่าทวยเทพชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นทวยเทพที่อยู่ภายใต้ความปกครองของเทพยดา 33 องค์ซึ่งมีสมเด็จพระอมรินทราธิราชเป็นประธาน

4.ยามาภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่ 3 ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีต และมีอายุยืนยาวกว่าทวยเทพในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพยดาที่อยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระสุยามเทวาทิราช

5.ดุสิตาภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่ 4 ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีตยิ่งขึ้น ถึงภาวะที่มีความสุขที่น่ายินดีชอบใจอยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระสันดุสิตเทวาธิราช

6.นิมมานรตีภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่ 5 ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีตยิ่งขึ้น มีความเพลิดเพลินเจริญใจในอารมณ์ ต่างๆ อันตนเนรมิต หรือบันดาลได้ตามความยินดีพอใจของตน โดยมีสมเด็จพระนิมมิตเทวาธิราชเป็นผู้ปกครอง

7.ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ คือ คือ เทวโลกชั้นที่ 6 ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีตเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเทวโลกชั้นสูงสุด มีความ เพลิดเพลินเจริญใจในกามคุณอารมณ์ต่างๆที่ผู้อื่นเนรมิตมาให้ตามความปรารถนาแห่งตน โดยมีสมเด็จพระปรนิมมิตเทวาธิราช เป็นผู้ปกครอง

ใบงานที่ 10 ประวัติโดยสังเขป

| | 0 ความคิดเห็น



ประวัติโดยสังเขป
************
ชื่อ พระปลัดสุริยัญ ฉายา สุริยวํโส นามสกุล ชูช่วย
ที่อยู่ วัดท้าวราษฎร์ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
เกิด วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ณ บ้านเลขที่ ๔ หมู่ที่ ๒ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดา นายบุญส่ง ชูช่วย มารดา นางสงวน หัสจำนงค์ มีพี่น้อง ๕ คน เป็นคนที่ ๒
บรรพชา วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ณ วัดแจ้งวราราม หมู่ที่ ๒ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระมหาสุพิณ คุณวโร วัดเสมาเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบท วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ณ วัดลครทำ ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พระมหาภากร ฐิตธมฺโม วัดวังตะวันตก เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ วัดสระเรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระมหาวิรัตน์ ฐิตธมฺโม วัดธรรมาวุธสรณาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ประวัติการศึกษา คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
ปี ๒๕๒๘ จบ ป.๖ จากโรงเรียนวัดศาลาไพ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี ๒๕๓๓ จบ ม.๓ จากโรงเรียนท้าวราษฎร์วิทยา วัดท้าวราษฏร์ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี ๒๕๓๖ จบ ม.๖ จากโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ วัดแจ้ง ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี ๒๕๔๐ สำเร็จปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณทิต คณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับ ๒) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ปี ๒๕๔๑ สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (ป.วค.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
ปี ๒๕๔๓ สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการเทศนา วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ปี ๒๕๔๖ สำเร็จปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เอกจริยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วิทยานิพนธ์ : การแสวงหาความสุขและคุณค่าของชีวิต กรณีศึกษาทัศนะกลุ่มคนต่างวัยในกรุงเทพมหานคร (ได้รับทุนวิจัย จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.)
ปี ๒๕๔๗ สำเร็จประกาศนียบัตร โครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ ๑๐ จากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

ประวัติการทำงาน
ปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ - เป็นครูสอนวิชาศีลธรรม จริยธรรม และวิชาพระพุทธศาสนาโรงเรียนเทพกาญจนา บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
- เป็นวิทยากรอบรมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
เฉลิมพระเกียรติ ต่อต้านยาเสพติด วัดสระเรียง
ปี ๒๕๔๑ เป็นครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาโรงเรียนท้าวราษฎร์สงเคราะห์ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช
ปี ๒๕๔๒-๒๕๔๖ - เป็นหัวหน้าหน่วยอบรมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ร่วมกับมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปี ๒๕๔๖ - เป็นวิทยาลัยอบรมค่ายจริยธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาภายในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี ๒๕๔๖ - เป็นรองเจ้าอาวาสวัดท้าวราษฎร์
ปี ๒๕๔๘ - ได้รับการแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมใน พระครูประโชติพัฒนกิจ
ที่ “ พระปลัด”
ปี ๒๕๘-๒๕๕๐ - ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ณ วัดพุทธมงคลนิมิต เมืองอัลบูเคอร์กี้ มลรัฐนิวแม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี ๒๕๕๐ -ปฏิบัติหน้าที่แทนรักษาการเจ้าอาวาสวัดท้าวราษฎร์ เป็น เจ้าอาวาสวัดท้าวราษฎร์ และเป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน ท้าวราษฎร์สงเคราะห์ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช

ใบงานที่ 9 คุณสมบัติผู้บริหารมืออาชีพ

| | 0 ความคิดเห็น



คุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบัน

1. มีภูมิรู้ คือ มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการในเรื่องต่างๆ ได้แก่1.1 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการบริหารงาน1.2 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการในการประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเหมาะสมและเกิดผลดี1.3 มีความรอบรู้ด้านวิชาการ หลักสูตร ปรัชญาการศึกษา หลักจิตวิทยาด้านต่างๆ ตลอดจนวิทยาการใหม่ๆ1.4 มีทักษะในการครองตน ครองคน และครองงาน ตลอดจนการบริหารความขัดแย้ง1.5 มีภาวะผู้นำ Leadership1.6 เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่มีความสามารถบริหารจัดการในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง(Change anagement)

2.มีภูมิธรรม คือ การบริหารจัดการบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นการบริหารจัดการโดยอาศัยหลักต่างๆ ดังนี้2.1 หลักนิติธรรม (The Rule of Law) 2.2 หลักคุณธรรม (Morality) 2.3 หลักความโปร่งใส (Accountability) 2.4 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) 2.5 หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) 2.6 หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

3.ภูมิฐาน คือ เป็นผู้ที่มีพื้น และฐานหรือภูมิหลังแห่งการสะสมในการคิดในการสร้างรู้จักการมองที่กว้าง ลึก มองเห็นเหตุแห่งปัญหาซึ่งจะเกิดขึ้นโดยการสรุปจากประสบการณ์ที่สร้างสมมานั้น เป็นคนช่างสังเกตและมองผลของการเกิดนั้นจากเหตุ มีวิสัยทัศน์ ฯลฯ4. มีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งบุคลิกภาพทางกาย ทางอารมณ์และจิตวิทยา ทางสังคมและทางสติปัญญา กล่าวคือ4.1 บุคลิกภาพทางกาย แบ่งเป็นองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ ประการแรก คือ รูปลักษณ์ภายนอกของผู้บริหารซึ่งเป็นที่ปรากฏแก่สายตาผู้คน ความสะอาดของร่างกายเป็นความสำคัญอันดับแรก การแต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับตำแหน่ง วัย และสถานการณ์ ประการที่สองคือ บุคลิกภาพภายใน ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพูดการโต้ตอบที่ดี มีความฉลาดแหลมคมในการสนทนา เป็นผู้นำกลุ่มได้ และต้องมีข้อมูลอย่างเพียงพอ เพื่อประกอบการตอบโต้อย่างแหลมคมได้ 4.2 บุคลิกภาพทางอารมณ์และจิตวิทยา ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดีต้องเป็นผู้มีความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่หงุดหงิด ฉุนเฉียว บ่นว่าตลอดเวลา มีความกล้าหาญในการเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักชมเชย พูดจาโน้มน้าวจูงใจคนให้ทำงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน สังคม หรือประเทศชาติได้ 4.3 บุคลิกภาพทางสังคม ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการศึกษาหาความรู้ในพิธีการต่างๆ ตามบรรทัดฐาน (Norms) ของสังคม เพื่อจะได้ปฏิบัติตามมารยาทสากลได้อย่างถูกต้อง สามารถเป็นตัวอย่างให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดทั้งคนรอบข้างได้ 4.4 บุคลิกภาพทางสติปัญญา ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีความรู้ มีความสามารถ มีความรอบรู้ด้านต่างๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พอที่จะเป็นผู้นำกลุ่ม สามารถคิดสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาได้ ซึ่งอาจสรุปได้ว่าสติปัญญาและความรอบรู้ในวิชาชีพของผู้บริหาร เป็นสิ่งสำคัญมากในการบริหาร

ใบงานที่ 8 สถิติการวิจัย

| | 0 ความคิดเห็น


1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย คือ สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics) สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ 2.ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวาเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย3. ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกผู้บริหารมาศึกษาเพียงบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น ตารางเลขสุ่ม หรืออื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมด4. มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)-เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด-สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์ มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)-เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้-สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอกถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์มาตรอันตรภาค (Interval Scale)-เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)-สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)-เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์ที่แท้จริง-สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท5.ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้- เป็นตัวแปรเหตุ- เป็นตัวแปรที่มาก่อน- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย- เป็นตัวกระตุ้น- มีความคงทน ถาวรตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้- เป็นตัวแปรที่เป็นผล- เกิดขึ้นภายหลัง- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง- เป็นตัวถูกทำนาย- เป็นตัวตอบสนอง- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย6.สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ 7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไปT-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 2 ข้อมูลสถานศึกษาที่สังกัด

| | 0 ความคิดเห็น

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนท้าวราษฎร์สงเคราะห์++

โรงเรียนท้าวราษฎร์สงเคราะห์ มีชื่อเดิม "โรงเรียนสถาพรวิทยา" ตั้งอยู่ใน บริเวณวัดท้าวราษฎร์ เลขที่ 1 หมู่ 3 ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น โรงเรียนราษฎร์ สังกัดกรมสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นโอกาสให้เยาวชนในท้องถิ่นได้ รับการศึกษามีความรู้ทัดเทียมกับสังคมเมือง
ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 มีนายคง พฤกษ์เสถียร เป็นเจ้าของ นายหนูกิ่ง บุญบำรุง เป็นผู้จัดการ นายสมพรไหมดี เป็นครูใหญ่ มีห้องเรียน 2 ห้องเรียน นักเรียน 60 คน ครู 3 คน ได้ผลัดเปลี่ยนการบริหารและจัดดาร
พ.ศ.2536 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน อนุมัติงบประมาณจำนวน 8,462,000 บาท ก่อสร้างอาคารแบบ 216 ล. จำนวนห้องเรียน 16 ห้องเรียน ในพื้นที่ดังกล่าว โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีชวน - หลีกภัย มาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2536 และสร้างแล้วเสร็จ 2537 ในวันที่ 27 ธันวาคม 2537 ได้ย้ายนักเรียนมัธยมต้นจำนวน 364 คน ครู 12 คนไปดำเนินการเรียนการสอนในอาคารหลังใหม่
พ.ศ.2538 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 3,211,000 บาท ให้ก่อสร้างอาคารแบบ 108 ล 0 ห้องเรียนและในปีเดียวกันได้ย้ายนักเรียนอนุบาล 3 จำนวน 119 คน ครู 6 คน ไปดำเนินการเรียนการสอนไว้บริเวณเดียวกันกัน และในปีการศึกษานี้ ได้เปิดสอนวิชาพิมพ์ดีดไทย เป็นวิชาเลือก 1 ห้องเรียน
++วัตถุประสงค์++
จัดการในรูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระบบ ประเภทสามัญศึกษา ระดับเตรียมอนุบาลก่อนประถมศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม หลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงการจัดการศึกษาในรูปแบบ ประเภทและระดับการศึกษาต่าง ๆ ตามที่โรงเรียนเอกชนสามารถจัดการศึกษาได้ตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้องในรูปแบบการกุศล
เพื่อจัดการศึกษาอบรมด้านคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาควบคู่กับการพัฒนาการศึกษา
เพื่อให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนหรืออุปกรณ์เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ให้แก่ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรของโรงเรียน
เพื่อให้บริการด้านวิชาการและบริหารอื่นแก่ชุมชน
เพื่อจัดการศึกษา อบรมแก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ยากไร้และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ

++ วิสัยทัศน์ ++
โรงเรียน ท้าวราษฎร์สงเคราะห์ มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้ได้รับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา พร้อมที่จะเรียนต่อหรือประกอบอาชีพได้ ที่เหมาะสมกับวัยให้มีความรู้ควบคู่ คุณธรรม จริยธรรม และสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ก้าวทันเทคโนโลยี มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข


++ เป้าหมายการจัดหลักสูตร ++
1. นักเรียนมีคุณธรรม และจริยธรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2. นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนมีทักษะ และความสามารถในทุกกลุ่มสาระและก้าวทันเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3. นักเรียนเป็นคนที่มีความสมบูรณ์ทั้งจิตใจ ปลอดจากสิ่งเสพติดไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
4. นักเรียนมีความรัก หวงแหนสิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ใบงานที่ 1 การจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา

| | 0 ความคิดเห็น

การจัดการองค์ความรู้
(Knowledge Management)
โดย รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม
ในขณะที่โลกแห่งเทคโนโลยีก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศที่องค์กรจะต้องเกี่ยวข้อง รับรู้และจัดการรวบรวมก็มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ปัญหาที่องค์กรต้องเผชิญและแก้ไขมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ความรวดเร็วฉับไวของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่งส่งต่อถึงอีกซีกโลกหนึ่งในชั่วพริบตา ศาสตร์และวิชาการกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถจะค้นหาและเรียนรู้ได้อย่างง่ายดายหากต้องการ ความยากจึงไม่ใช่การค้นหาความรู้และข้อมูล แต่เป็นการทำความเข้าใจกับองค์ความรู้ (Knowledge) และความหมาย (Meaning) ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้มากกว่า เพื่อให้เข้าใจความหมายของการจัดการความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างความซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์และความเข้าใจอาจอธิบายได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1: เยอะแต่ไม่ยาก
ลักษณะปัญหาในกลุ่มนี้เป็นเรื่องของระบบระเบียบ ขั้นตอนการทำงาน ความถูกผิด สาเหตุและปัญหามีความสัมพันธ์กันอย่างตรงไปตรงมา ปัญหาแบบนี้มักเกิดในองค์กรที่เป็นทางการ มีแบบแผน นโยบาย กระบวนการทำงานและระบบการควบคุมสูง ทุกอย่างมีขั้นตอนการทำงานระบุไว้แล้ว ลักษณะของปัญหาจึงเป็นเรื่องของความเยอะแต่ไม่ยาก นั่นคือทำนายได้ มีวิธีที่ถูกต้องและสามารถหาคำตอบที่ดีที่สุดได้ (Best practices) เพราะมีระเบียบแบบแผนเขียนไว้ชัดเจนเพียงแต่จะมีใครจำหมดหรือไม่ ผู้นำมักเป็นข้าราชการที่คุ้นเคยกับระบบการบริหารราชการซึ่งใช้อำนาจในการปกครอง ใครเป็นนายใครและใครควรขออนุมัติใครเป็นเรื่องที่ต้องทำตามขั้นตอนให้ถูกต้อง การแก้ปัญหาเป็นเรื่องของการจัดระบบข้อมูลและรวบรวมขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจน รวมทั้งการกลั่นกรองข้อมูลใหม่ๆที่จะมีเพิ่มเข้ามาในระบบ เรียนรู้จากวิธีการทำงานที่ดีที่สุดที่เคยมีคนปฎิบัติมาก่อน

กลุ่มที่ 2: ยากแต่ไม่ยุ่ง
ลักษณะปัญหาในกลุ่มนี้แม้มีความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและปัญหาแต่จะไม่ชัดเจนหรือรู้เฉพาะในกลุ่มบุคคลที่จำกัด มักเกิดในองค์กรที่เน้นวิชาชีพสูง ต้องอาศัยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือชำนาญการ ซึ่งผ่านกระบวนการของการฝึกฝนอบรมและมีประสพการณ์มามากพอ มีภาษาของตนเองโดยเฉพาะและรูปแบบของการทำงานที่ยอมรับกันในวงการของหมู่ผู้เชี่ยวชาญ ปัญหาลักษณะนี้แม้มีความซับซ้อนเฉพาะทางสูงและมีความยากแต่สามารถถ่ายทอดและสอนกันได้ เข้าทำนองว่ายากแต่ยังไม่ยุ่ง ทั้งนี้ต้องขึ้นกับเวลาและสติปัญญาของแต่ละบุคคล องค์ความรู้ในกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้ในกลุ่มผู้รู้และมืออาชีพเท่านั้น ลักษณะของปัญหาจึงเป็น Knowable space นั่นคือแม้จะเข้าใจและอธิบายได้ แต่ยังไม่มีใครรู้ทั้งหมดเนื่องจากทฤษฎีต่างๆมีความซับซ้อนและยังอาจจะไม่มีใครรอบรู้และเข้าใจในทฤษฎีได้ทั้งหมด สามารถหาคำตอบที่ดีได้ (Good practice) แต่อาจไม่ใช่ดีที่สุด อาศัยการรับรู้และสนองตอบต่อปัญหา(Sense and respond)ของบรรดา expert ทั้งหลาย ซึ่งบางครั้งความเชี่ยวชาญก็เป็นทั้งตัวเสริมและสลายการสร้างความรู้ใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น ผู้นำเป็นระบบคณะผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของชุมชนซึ่งบางครั้งไม่แน่ว่าดีกว่าระบบสิทธิ์ขาดของเจ้าขุนมูลนายซึ่งใช้อำนาจในการปกครอง เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญมักใช้เวลาในการอภิปรายนานเกินไปและไม่อาจตัดสินใจได้เนื่องจากถกเถียงกันว่าวิธีไหนจะดีที่สุด การอภิปรายเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อระบบคุณภาพและวิธีการในการสร้างคุณภาพถือว่าเป็นโจทย์ classic ในกลุ่มนี้

กลุ่มที่ 3: ซับซ้อนและมีความยาก
ลักษณะปัญหาแบบนี้มีความสลับซับซ้อน(Complex) เกิดจากองค์ประกอบของหลากหลายสาเหตุนั่นคือทำนายไม่ได้ แต่ต้องอาศัยการสังเกตจากสัญญาณต่างๆที่คนภายในชุมชนนั้นเข้าใจ อาศัยการสื่อสารกันภายในระหว่างกันและกันอย่างมากเพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศจากทุกจุดมาประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้เข้าใจปัญหาจากทุกด้านและทุกมุมมอง ต้องอาศัยการแบ่งปันประสพการณ์ คุณค่า และความศรัทธา ลักษณะของปัญหาจึงไม่สามารถหาคำตอบที่ดีได้ในบางครั้ง ต้องรอจนผ่านพ้นเหตุการณ์ต่างๆไปนานพอสมควรกว่าที่คนจะทำความเข้าใจกับเหตุการณ์นั้นๆหรือปรากฏการณ์นั้นได้ ตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งได้แก่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่งผ่านมา ในเหตุการณ์เช่นนี้ส่วนใหญ่ผู้นำไม่สามารถใช้อำนาจตามระบบได้แต่ต้องให้เป็นไปตามกระแสของคนหมู่มาก และอาจจะสั่งการโดยอาศัยอำนาจการปกครองหรือความสมานสามัคคีของกลุ่ม

กลุ่มที่ 4: วุ่นวายและโกลาหล
ลักษณะปัญหาแบบนี้เป็นอะไรที่เราไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนเพราะเป็นเรื่องใหม่ สถานะการณ์ไม่แน่นอน และไม่มีหลักการใดๆจะช่วยในการตัดสินใจ เข้าทำนองไม่รู้และไม่แน่ใจ ลักษณะของปัญหาจึงเป็น Chaotic นั่นคือวุ่นวายเพราะยังจัดกระบวนทัพไม่ได้ ผู้นำต้องเป็น Crisis management คือตอบสนองตามเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที รู้จักใช้อำนาจที่มีทั้งในทางโน้มน้าวและการผูกใจเพื่อให้เกิดวินัยและการควบคุม ที่สำคัญคือความมุ่งมั่นและการให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

การจัดการองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย
ถ้าเราพิจารณาดูจากกลุ่มขององค์ความรู้หรือโจทย์ใน 4 รูปแบบดังกล่าวข้างต้น เราจะพบว่าปัญหาในมหาวิทยาลัยก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันหลายอย่าง มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นระบบราชการไทยซึ่งมีระเบียบขั้นตอนมากอยู่แล้ว แต่ด้วยความหวังดี(ซึ่งกลายเป็นความหวังร้าย) ยังมีระเบียบภายในซึ่งทุกมหาวิทยาลัยสร้างให้ซับซ้อนขึ้นมาอีก เช่นระเบียบการเงินสำหรับงบประมาณแผ่นดินและระเบียบการเงินสำหรับงบประมาณเงินรายได้ ระบบการบริหารบุคคลที่เป็นข้าราชการและระบบการบริหารบุคคลที่เป็นพนักงาน การบริหารหลักสูตรภาคปกติ กับภาคพิเศษ ซึ่งทุกระบบมีกระบวนการขั้นตอนพอๆกันคือเยอะพอๆกัน จนทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ไม่สามารถตัดสินใจว่าจะแยกแยะออกจากกันได้อย่างไร ระเบียบภายในที่สร้างมาเพื่อความคล่องตัวจึงกลายเป็นความไม่คล่องตัวไปโดยปริยาย
ขณะเดียวกันองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยทั้งที่เป็นศาสตร์และการเรียนรู้ภายในยังมีอีกมากมาย อาทิเช่นอาจารย์ที่สอนเก่งในภาควิชามีเทคนิคของการสอนและวิธีการถ่ายทอดอย่างไรให้ลูกศิษย์อยากเรียนรู้ นักวิจัยอาวุโสที่มีผลงานวิจัยเยี่ยมยอดและมีชื่อเสียงระดับโลกมีแนวคิดและวิธีการวิจัยอย่างไร(กลุ่มที่2) การบริหารจัดการหลักสูตรและโครงการที่ประสพความสำเร็จ ตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานก็ถือเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าทั้งสิ้น เราเคยตั้งข้อสงสัยไหมว่าบรรดาอาจารย์และข้าราชการที่มีคุณค่าทั้งหลายเมื่อเกษียญอายุหรือลาออกจากมหาวิทยาลัยไป พวกเขาจะนำความรู้ที่สั่งสมในตัวเขาไปด้วยหรือเหลือทิ้งไว้ให้กับหน่วยงาน มหาวิทยาลัยจะมีวิธีการใดไหมที่จะถนอมรักษาไว้ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้และใช้เป็นฐานในการต่อยอดความรู้ให้องค์กรเก่งขึ้นเข้มแข็งขึ้น คนในมหาวิทยาลัยหากต้องการความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาบางเรื่อง เรารู้บ้างไหมว่ามีใครรู้อะไรและอยู่ที่ไหนบ้างภายในมหาวิทยาลัยของเรา ความคิดริเริ่มที่เรามีอยู่หรือกำลังจะเริ่มต้นทำได้เคยมีใครทำมาแล้วบ้างในอดีตและประสพความสำเร็จและล้มเหลวอย่างไรและเพราะเหตุใด เพื่อว่าเราจะได้ไม่ทำผิดซ้ำหรือต้องทำงานซ้ำซ้อน วัฒนธรรมของคนในมหาวิทยาลัยเนื่องจากมีคนเก่งอยู่เยอะจึงไม่ค่อยยกย่องคนเก่งด้วยกัน หรือถ้ามีก็มักจะหลบๆ(Low profile) กลัวถูกหมั่นใส้ แต่ที่ยากยิ่งกว่าคือการพูดถึงความล้มเหลวหรือบทเรียนที่ได้รับจากโครงการต่างๆในอดีต ส่วนใหญ่แล้วมักจะโทษปี่โทษกลองและพยายามลืมๆมันไป แล้วก็ทำผิดซ้ำซาก
ดังนั้นการจัดการองค์ความรู้(Knowledge Management, KM) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับมหาวิทยาลัย ไม่เพียงเพราะความรู้เป็นธุรกิจหลักของเราเท่านั้น แต่เพราะองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยมีมากมายทั้งที่ชัดแจ้ง(Explicit)และรู้แจ้ง(Tacit) กระบวนการถ่ายทอดและสนับสนุนให้คนในองค์กรได้เข้าใจและเรียนรู้จากกันและกันจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำพาให้หน่วยงานพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง
การเริ่มต้นดำเนินการเรื่องการจัดการองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยแม้ไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องใหม่(กลุ่มที่4) และไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีความรู้ แต่เป็นเพราะเราไม่รู้วิธีการที่จะจัดการกับขุมความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายภายในมหาวิทยาลัยต่างหาก และนำความรู้เหล่านั้นมาต่อยอดทางปัญญามากขึ้นและทำให้คนภายในองค์กรมีความรู้มากขึ้น องค์กรเก่งกล้าขึ้นและกลายเป็นหน่วยงานที่ชี้นำการพัฒนาได้อย่างแท้จริง KM จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนในองค์กรควรให้ความร่วมมือและให้ข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ ผ่านกระบวนการของการเสวนา การอภิปราย การสร้างเครือข่ายหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติ(Community of Practice)

ปัจจัยที่ทำให้ KM ประสพความสำเร็จในองค์กร
1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กร
คนในองค์กรต้องมีความเจตคติที่ดีในการแบ่งปันความรู้ และนำความรู้ที่มีอยู่มาเป็นฐานในการต่อยอดความรู้ของคนรุ่นใหม่ต่อไป องค์กรเองต้องมีวัฒนธรรมภายในแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ และให้เกียรติกัน เคารพในสิทธิและความคิดของผู้ร่วมงานในทุกระดับแม้เป็นบุคลากรระดับล่างก็ตาม การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเรื่องแม้แต่สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดในอดีต


2. ผู้นำ และการสร้างกลยุทธ์
ผู้บริหารระดับสูงต้องมีความเชื่อในคุณค่าของคนและความรู้ที่มีในองค์กร เข้าใจในลักษณะของปัญหาและพันธะกิจขององค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นมืออาชีพในด้านต่างๆให้เกิดขึ้น ค้นหาและเชิดชูกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศจากหน่วยงานภายใน เป็นต้นแบบแห่งการเป็นผู้ริเริ่มในการแบ่งปันและเรียนรู้ กำหนดทิศทางในการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายใน วางกลยุทธ์ในการจัดทำระบบการจัดการองค์ความรู้ที่จะประสพผลสัมฤทธิ์เช่น เลือกเรื่องที่ทำแล้วเห็นผล หรือ
เรื่องที่มีคนเข้าใจและมีองค์ความรู้อยู่แล้วในองค์กร ที่สำคัญที่สุดคือทำอย่างไรให้คนในองค์กรอยากนำเรื่องที่ตนรู้ออกมาแบ่งปันโดยไม่หวาดระแวงว่าจะเสียผลประโยชน์ ถูกแอบอ้างผลงาน ถูกกลั่นแกล้งเพราะอิจฉาตาร้อนต่างๆนานา องค์กรที่จะประสพความสำเร็จในเรื่องนี้ต้องสร้างอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ(Trust) และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน(Mutual respect) โดยกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่โลกที่เปิดกว้างนี้คือผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั่นเอง

3. Technology
ความพร้อมของอุปกรณ์ทันสมัยของเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการทำงานและการเรียนรู้ของคนในองค์กรได้ การสร้างฐานข้อมูลและการจัดการระบบฐานข้อมูลตลอดจนวิธีการที่จะทำให้คนยอมใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อกลางในการรวบรวมและส่งต่อขององค์ความรู้ ที่สำคัญคือสร้างระบบการป้องกันไม่ให้คนนอกเข้ามาก่อกวนและทำความเสียหายแก่ระบบฐานข้อมูลภายในได้ ขณะเดียวกัน KM ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์แพงๆเพื่อสร้างฐานข้อมูลขนาดยักษ์แต่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานของคนส่วนใหญ่ในองค์กร ผู้ที่ดูแลระบบนี้ต้องมีใจเปิดกว้างและมีความเพียรพยายามที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ฐานข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์เอื้อประโยชน์ให้คุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป อย่าลืมว่าระบบเหล่านี้หมดอายุขัยเร็วมากภายในไม่กี่ปี


4. การวัดผลและการนำไปใช้
จัดทำระบบการติดตามและวัดผลของการจัดการความรู้และประโยชน์จากการนำไปใช้ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้คนในองค์กรมีความกระหายอยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างฐานความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง


5. โครงสร้างพื้นฐาน
การวางระบบการบริหารจัดการ การรวบรวมข้อมูล และการรายงานผลการดำเนินการต่างๆที่จะเอื้อให้แผนงานของการจัดการความรู้ประสพผลสำเร็จ

ท้ายสุดองค์กรที่มีการจัดการองค์ความรู้ที่ดีจะสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากทุนทางด้านความรู้(Knowledge Asset)ที่เกิดจากปัญญาของบุคคลากรทุกระดับภายในองค์กรอย่างไม่รู้จักหมด เพราะเมื่อหน่วยงานได้เริ่มต้นดำเนินการเรื่อง KM จะพบว่าความรู้ที่ตัวเรา(One person)คิดว่าเรามีอยู่เยอะนั้น จริงๆแล้วยังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับที่มีอยู่ภายในองค์กรของเราเอง และจะยิ่งรู้สึกประทับใจเมื่อค้นพบว่ามีความรู้บางอย่างมาจากที่ๆเราคาดคิดไม่ถึง ทำให้คนเราลดละอัตตาและกิเลศที่คิดว่าตนรู้แต่ผู้เดียวในจักรวาลและหวงความรู้นั้นไว้กับตนเอง(อันนี้รวมไปจนถึงข้อมูลและข้อสนเทศต่างๆด้วย) โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นไม่มีคุณค่าใดเลยหากไม่มีผู้นำไปใช้ อย่าลืมว่าความรู้ทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากการสอน เพราะ “ยิ่งให้ยิ่งรู้” ไม่เหมือนทรัพย์สินอื่นที่ยิ่งให้ยิ่งหมด

การประกันคุณภาพกับการจัดการองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย
แล้วการประกันคุณภาพมาเกี่ยวข้องอะไรกับการจัดการองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย ความจริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกัน การประกันคุณภาพคือการตรวจสอบและพัฒนาระบบและกลไกในการดำเนินการทั้งหลายของมหาวิทยาลัยให้มีมาตรฐานตามที่ตั้งไว้ ในระยะเริ่มต้นเราจะพบว่าการประกันคุณภาพยังไม่ได้นำเราไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพเท่าใดนัก นั่นอยู่ที่การตีความของนิยามคำว่าคุณภาพที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญคือกระบวนการตรวจสอบที่เน้นในเรื่องของระบบและกลไกมักพบว่ามีความเหลื่อมล้ำในความเข้าใจของกลไกการควบคุมแม้ในหน่วยงานเดียวกันอยู่มาก ทั้งนี้เพราะกิจกรรมหลายอย่างไม่ใช่ว่าจะมีความชัดเจนทั้งหมด แต่จะมีบางหน่วยงานที่เข้าใจได้ดีกว่า ปรับปรุงกระบวนการให้เข้ากับวัฒนธรรมภายในของตนเองได้ดีกว่าจนสามารถดำเนินการในบางเรื่องได้ดีกว่า(Better practices) การตรวจสอบจะช่วยให้เราค้นหากระบวนการที่ดีกว่าเหล่านี้ได้จากภายในองค์กรของเราเองและนำเสนอออกมาให้ประจักษ์แก่สายตาประชาคมของมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยให้หน่วยงานอื่นๆสามารถเรียนรู้จากกระบวนการที่ดีกว่าได้ผ่านรายงานของการตรวจสอบและการนำเสนอกรณีศึกษาของการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best practices) การเรียนรู้จากกันและกันนี้จะช่วยให้องค์กรพัฒนาปสู่ความเป็นเลิศ เพราะกรณีศึกษาที่นำเสนอในแต่ละปีจะช่วยกระตุ้นให้มีคนคิดค้นและพัฒนาวิธีการที่ดีกว่าในปีต่อๆไป ก่อให้เกิดการเรียนรู้และแบ่งปันระหว่างกันและกันจนกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด การตรวจสอบในระบบการประกันคุณภาพก็จะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อหน่ายต่อไปเพราะทั้งผู้ตรวจและผู้ถูกตรวจพร้อมที่จะเรียนรู้จากกันและกัน
__________________________________________

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือเรื่อง “ การจัดการความรู้ - จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ” สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
สิงหาคม 2547
2. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง Knowledge Management Training Workshop for University Executives จัดโดยสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน 2546
3. เอกสารประกอบการบรรยายในงาน Productivity Talk Special หัวข้อ : “ การจัดการความรู้ - จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ” จัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ วันที่ 25 สิงหาคม 2547
4. Kurtz, C.F .and D.J. Snowden; The New Dynamics of Strategy: Sense-making in a complex and complicated world. IBM System Journal Vol. 42 No. 3, 2003.