กลุ่มที่ 11 การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษา
สมาชิกในกลุ่มที่ 11 มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1.นางฐิติพรรณ พูลพิพัฒน์ (พี่จิน)
2.นางสุภาพ พฤษภ (พี่แตน)
3.นายเกรียงศักดิ์ ม่วงน้อย (พี่หมู)
4.นางนิตยาพร จันทร์อุดม (พี่จุ๋ม)
5.พระปลัดสุริยัญ สุริยวํโส (พี่หลวง)
สมาชิกในกลุ่มที่ 11 มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1.นางฐิติพรรณ พูลพิพัฒน์ (พี่จิน)
2.นางสุภาพ พฤษภ (พี่แตน)
3.นายเกรียงศักดิ์ ม่วงน้อย (พี่หมู)
4.นางนิตยาพร จันทร์อุดม (พี่จุ๋ม)
5.พระปลัดสุริยัญ สุริยวํโส (พี่หลวง)
เนื่องจาก สภาพปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สถานศึกษาต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคม โดยเฉพาะจากวิทยาการสมัยใหม่ และระบบการสื่อสาร ทั้งการที่สังคมโลกมีการติดต่อสัมพันธ์กับในประชาคมโลกอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ในการที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทย โดยเฉพาะบุคคล สังคม ต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคม เป็นผลให้ประเทศไทยต้องมีการปฏิรูปการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล คนทั้งมวลเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การศึกษาต้องแก้ปัญหาทั้งมวลในการปฏิรูปการศึกษา มีหลักที่สำคัญคือ การปฏิรูปการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2540: 13) มีการปรับแนวคิด ทัศนคติ ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ ให้มีการนำนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามามีส่วนในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของคนไทย และสังคมไทย (สุมน อมรวิวัฒน์, 2540: 4) เพื่อความชัดเจน เป็นรูปธรรม ยิ่งเมื่อมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เรื่องการปฏิรูปการศึกษา ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดกระบวนการขั้นตอนไว้ชัดเจนในการดำเนินการปฏิบัติการศึกษาดังกล่าว และได้มีกฎหมาย ระเบียบ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษามีความพร้อมและสมบูรณ์ โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะกำหนดให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปในครั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ ปีการศึกษา 2550 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างปีการศึกษา 2549 กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2550 ขอบเขตการศึกษา 1. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ครู และผู้บริหารในอำเภอบ้านธิ ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2550 จำนวน 149 คน ครู 140 คน ผู้บริหารโรงเรียน 9 คน 2. ขอบเขตเนื้อหา ขอบข่ายภารกิจการบริหารงานวิชาการตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 ข้อ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี 6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 7) การนิเทศการศึกษา 8) การแนะแนวการศึกษา 9) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 10) การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน 11) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น 12) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ข้าราชการ หมายถึง ข้าราชการที่ทำหน้าที่สอน และข้าราชการที่ทำหน้าที่บริหารโรงเรียน ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ 2. การบริหารงานวิชาการ หมายถึง งานวิชาการตามขอบข่ายภารกิจ ทั้ง 12 ข้อ ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. การพัฒนางานวิชาการ หมายถึง การคิด ยกระดับ เพิ่มคุณภาพการดำเนินการ งานวิชาการในโรงเรียน โดยงานวิชาการตามขอบข่ายภารกิจทั้ง 12 ข้อ ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายถึง หน่วยงานบริหารที่บริหารจัดการตามภารกิจที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 5. โรงเรียน หมายถึง หน่วยงานบริหารการศึกษาที่มีหน้าที่บริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามภารกิจที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ 6. ปีการศึกษา 2550 หมายถึง ปีการศึกษา 2550 (คือ 16 พฤษภาคม 2550 – 31 มีนาคม 2551) 7. เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอบ้านธิ หมายถึง การรวมสถานศึกษาของรัฐและเอกชนหลายๆ แห่งไว้ด้วยกัน ในลักษณะกลุ่ม เพื่อร่วมมือกันปฏิบัติภารกิจด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเน้นที่การพัฒนางานวิชาการเป็นหลัก ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผลการศึกษาที่พบ จะสามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้เกิดความชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพของผู้เรียน 2. นำแนวทางการพัฒนางานวิชาการไปปรับประยุกต์ใช้กับพื้นที่ หรือ สถานที่อื่นๆ ได้ 3. ทำให้ผู้เข้าร่วมพัฒนา คือ ครู และผู้บริหารโรงเรียน เกิดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดการพัฒนาตนเอง 4. ผลจากการพัฒนางานวิชาการ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนมีคุณภาพการศึกษาเป็นที่ยอมรับของสังคม 5. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความสุขในการเรียน มีจิตสาธารณะ ช่วยเหลือสังคม เป็นที่ยอมรับของสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น